รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

คณะบัญชี

วันที่ประเมิน: 3 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
2 4.22
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 8.44
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 4.22

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ผลการดำเนินงานของหลักสูตรทั้งสองระดับปริญญามีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 11.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 45.45
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

อาจารย์ประจำคณะมีคุณวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอกในอัตราร้อยละที่สูงถึง 45.45 แสดงถึงศักยภาพทางวิชาการของคณะ

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 11.00 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 7
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 63.64
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

อาจารย์ประจำคณะดำรงตำแหน่งทางวิชาการในอัตราร้อยละ 63.64 แสดงถึงศักยภาพทางวิชาการของคณะ

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 259.39 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 11.00
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 23.58
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 25.00
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 -5.68
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ เท่ากับ 23.58 ต่ำกว่าสัดส่วนที่กำหนด (25 : 1) ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. มีการจัดดูแลเป็นที่ปรึกษานักศึกษาทั้งทางด้านวิชาการ และการใช้ชีวิต และให้กับนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
2. มีการจัดหาแหล่งข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมเสริมหลักสูตรและแหล่งงานให้นักศึกษา โดยเผยแพร่ผ่านบอร์ด Facebook ของคณะ กลุ่มไลน์ ของแต่ละชั้นปี รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารจากสำนักงาน/หน่วยงานต่างๆภายในมหาวิทยาลัย 
3. มีการเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา เช่น มีรายวิชาสหกิจศึกษา วิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มีกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาก่อนไปฝึกงาน
4. มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมและจัดบริการต่างๆ ตามข้อ 1-3 ซึ่งพบว่าผลการประเมินอยู่ในระดับดีถึงดีมาก (คะแนนระหว่าง 4.32-4.86 จากคะแนนเต็ม 5)
5. มีการนำผลมาปรับปรุง โดยผลจากการจัดกิจกรรมในปีการศึกษา 2566 เท่ากับ 4.32 (ใกล้เคียงกับปีการศึกษา 2565 เท่ากับ 4.34)
6. มีการจัดกิจกรรมที่ให้ข้อมูลและความรู้แก่ศิษย์เก่า ผ่าน Facebook ของคณะ เช่น กิจกรรมพัฒนาทักษะทางบัญชี การเผยแพร่และแสดงความยินดีกับความสำเร็จของศิษย์เก่า การเชิดชูศิษย์เก่าที่ได้รับรางวัล การเชิญศิษย์เก่ามาร่วมงานปฐมนิเทศ  

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
16
16
100.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

1. มีการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษาในภาพรวมของคณะโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
2. เป็นแผนการจัดกิจกรรมนักศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ 5 ประการ อันได้แก่ 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ครบถ้วน
3. มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพแก่นักศึกษา
4. มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไปทุกกิจกรรมและโครงการ
5. มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยมีทั้งสิ้น 5 กิจกรรม 11 โครงการ
6. มีนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา โดยมีการกำหนดความสำเร็จไว้เป็นตัวตั้งในการพัฒนาและปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา 4 ประการ ได้แก่ 1. คณะต้องมีกิจกรรมหรือโครงการเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ 2. ผลงานนักศึกษา 3. รางวัลด้านคุณธรรม จริยธรรม และ 4. นักศึกษาต้องมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิ 5 ด้านและบัณฑิตมีผลลัพท์ผู้เรียนตามมาตรฐานอุดมศึกษา พ.ศ. 2561

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะได้จัดทำแผนการพัฒนานักศึกษาและการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วม โดยมีความครอบคลุมคุณลักษณะของนักศึกษาและบัณฑิตที่เป็นไปตามมาตรฐานระดับอุดมศึกษา ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบแก่คณะอื่น ๆ ได้
  2. คณะได้มีแผนการพัฒนาคณาจารย์เป็นรายบุคคลทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ดังจะเห็นได้จากหลากหลายกิจกรรมที่คณะได้มีไว้ให้กับการพัฒนาคณาจารย์

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะควรเสริมสร้างทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของคณาจารย์ เพื่อมุ่งสู่ความเป็นนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

มีความชัดเจนและครบถ้วนในระบบและกลไกการบริหารงานวิจัยของคณะบัญชี 

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 655,406.50 5.00
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 298,301.00
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 953,707.50
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 11.00
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 86,700.68
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 25000 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 3 4 5 7 1
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 11.80 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 11.00
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 107.27
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 20 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะมีความครบถ้วนและชัดเจนในระบบและกลไกในการบริหารงานวิจัย ที่ครอบคลุมตั้งแต่แผนพัฒนา และหลากหลายโครงการ/กิจกรรม รวมถึงเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารงานวิจัยและการทำวิจัย ซึ่งส่งผลให้คณะได้รับการประเมินผลการดำเนินงานในเรื่องการวิจัยอยู่ในระดับดีมาก
  2. คณะให้ความสำคัญต่อการทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมภายนอก และการบูรณาการงานวิจับกับการสอน ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต ได้แก่ การพัฒนาชุมชนหลักหก เป็นต้น

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะควรเสริมสร้างความเป็นนานาชาติในการทำวิจัย เพื่อส่งผลให้การวิจัยของคณะเข้าสู่ระดับสากล

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะมีการบูรณาการแนวคิดที่ส่งเสริมนักศึกษาและบุคลากร ในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน จากการเรียนการสอนสู่งานบริการวิชาการ
  2. คณะให้ความสำคัญกับวิชาการด้านบัญชี ในการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนและชุมชน
  3. คณะให้ความสำคัญในการบริการวิชาการกับนักศึกษาเพื่อเป็นแกนนำสำคัญในการให้องค์ความรู้ จนเป็นที่ยอมรับขององค์กรภายในและภายนอก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. พัฒนาสื่อการให้ความรู้ด้านการบัญชีที่ทำให้เข้าใจง่าย และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลาย ซึ่งจะส่งผลให้หลักสูตรของคณะบัญชีเป็นที่รับรู้ของสังคมภายนอกมากขึ้น

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะมีกิจกรรม/และโครงการที่มีความต่อเนื่องในการทำงานร่วมกับทางมหาวิทยาลัยรวมถึงกระบวนการทำงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมได้อย่างครบถ้วน
  2. คณะมีกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้กับบุคลากร/นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโครงการ กิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้จัด ทั้งภายในและภายนอก <<<แนวทางเสริม>>> ควรมีการส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาชีพของคณะบัญชีที่สอดคล้องกับงานศิลปวัฒนธรรม ให้ก้าวเข้าสู่การเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในระดับประเทศ
  3. คณะมีการบูรณาการกิจกรรมสอดแทรกงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้ให้เข้ากับรายวิชา เรียนรู้ควบคู่ไปกับสังคมและชุมชน

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. -

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนา Soft Skills ให้กับนักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • การท าผลงานวิจัยด้วย ทีมงานตามแนวคิดสมดุล ชีวิต (work-life-balance)
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะมีความครบถ้วนและมีประสิทธิภาพในการจัดทำกลยุทธ์และแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของทั้งมหาวิทยาลัยรังสิตและคณะ รวมถึงความมีประสิทธิภาพในการนำความเชื่อมโยงจากแผนพัฒนาสู่การบริหารงานด้วยแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาที่ปรับปรุงตามปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เพื่อนำสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่คณะได้กำหนดไว้อย่างชัดเจน
  2. คณะได้จัดทำหลากหลายโครงการ/กิจกรรมเพื่อรองรับการดำเนินงานในการลดความเสี่ยงตามแผนบริหารความเสี่ยง รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความสามารถตามความต้องการของบุคลากรและของคณะ ดังแสดงเป็นรายละเอียดของการวิเคราะห์และสังเคราะห์ในข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจากบุคลากรและนโยบายของคณะที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย
  3. คณะให้ความสำคัญในการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีทั้งในประเด็นการผลิตบัณฑิตและการพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการได้รับรางวัลดีเด่นหลายปีต่อเนื่อง
  4. คณะให้ความสำคัญอย่างดีเยี่ยมในการบริหารงานที่มีการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลครบถ้วน 10 ข้อ โดยเฉพาะความสุขที่เกิดขึ้นในคณะ
  5. คณะให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของคณะ เพื่อก้าวสู่การได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับดีขึ้นไป

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. คณะควรจัดทำมาตรการในการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุนและนักศึกษาให้เข้าสู่เป้าหมายตามข้อกำหนดของมหาวิทยาลัย
  2. คณะควรจัดทำมาตรการในการให้การเผยแพร่งานวิจัยของคณาจารย์เข้าสู่ระดับสากลมากขึ้น

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 4.22
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.94

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 5.00 5.00 4.22 4.87 การดำเนินงานระดับดีมาก
2 3 5.00 5.00 5.00 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 5.00 5.00 4.61 4.94 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดีมาก