รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

คณะพยาบาลศาสตร์

วันที่ประเมิน: 15 ตุลาคม 2567, 09:30น.

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต

[ตัวบ่งชี้ 1.1] ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน คะแนน
[1] จำนวนหลักสูตรทั้งหมดที่คณะรับผิดชอบ
[ไม่รวมหลักสูตรที่ใช้ระบบประกันคุณภาพอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต พ.ศ.2563 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2565)]
1 4.13
[2] ผลรวมของค่าคะแนนประเมินของทุกหลักสูตร 4.13
[3] ผลลัพธ์ที่ได้ [2] / [1] 4.13

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

พยาบาลศาสตร์มีหลักสูตรในปีการศึกษา 2566 เปิดสอนทั้งหมด จำนวน 4 หลักสูตร
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต [2 ภาษา] และหลักสูตรพยาบาล ศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่  2565 ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาลเป็นระยะเวลา 5 ปี [พ.ศ. 2566-2570] และได้รับรองว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ [TQR] โดย สกอ. ไม่ต้องได้รับการประเมินคุณภาพจากคณะกรรมการประเมิน จึงไม่ต้องนำคะแนนการประเมินของทั้ง 3 หลักสูตรมาคำนวณในตัวบ่งชี้นี้  คะแนนการประเมินของหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต [การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ] เพียงหลักสูตรเดียวมาคำนวณในตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ซึ่งมีคะแนนประเมินเท่ากับ 4.13

[ตัวบ่งชี้ 1.2] อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 57.50 3.70
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 17
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 29.57
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 40 3.70

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.3] อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ [กำหนดคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป]

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมดสามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด 57.50 2.75
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 19
[3] ร้อยละที่ได้ [2] X 100 / [1] 33.04
[4] ผลลัพธ์ที่ได้ [3] X 5 / 60 2.75

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 1.4] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

*หมายเหตุ: จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] สามารถใส่เป็นทศนิยม 2 ตำแหน่งได้
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า [ค่า FTES] รวมทุกหลักสูตร 391.47 3.32
[2] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่รวมลา] 52.50
[3] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำที่เป็นจริง [1] / [2] 7.46
[4] สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาต่อจำนวนอาจารย์ประจำแยกตามกลุ่มสาขาวิชา 6.99
[5] ร้อยละที่ได้ ([3] – [4] / [4]) X 100 6.72
[6] ผลลัพธ์ที่ได้ 3.32

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ปีการศึกษา 2566 คณะพยาบาลศาสตร์มีจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าระดับปริญญาตรี 377.39 ระดับปริญญาโท 14.08 รวมมีจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า เท่ากับ 391.47 มีจำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง 52.5 คน สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่ออาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง คิดเป็น 7.46 ซึ่งสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่ออาจารย์ประจำตามเกณฑ์ของสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ เท่ากับ 6.00-6.99 ดังนั้น จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่ออาจารย์ประจำของคณะพยาบาลศาสตร์น้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จึงมีคะแนนเท่ากับ 3.32 คะแนน

[ตัวบ่งชี้ 1.5] การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

  • คณะพยาบาลมีระบบและกลไกในการให้คำปรึกษาด้วยระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของคณะฯ ซึ่งเป็นการดูแลทั้งรายบุคคลและระดับชั้นปี
  • มีระบบการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรและแหล่งงานแบบเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
  • มีการเชิญศิษย์เก่าที่ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลนั้นมาร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานและแนวทางการศึกษาต่อในหลักสูตรเฉพาะทาง อื่นๆ
  • มีกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา การเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อสอบขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพ การเตรียมความพร้อมนักศึกษาเพื่อการทำงาน ประกอบด้วย กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ การจัดกิจกรรมนัดพบแหล่งงาน
  • มีการประเมินกิจกรรมการจัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการ และการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษาและการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษานั้น  และนำผลการประเมิน มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
  • มีระบบการสื่อสารข้อมูลข่าวสารเชิงวิชาการแก่ศิษย์เก่า

[ตัวบ่งชี้ 1.6] กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
13
11
84.62

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

  • คณะพยาบาลศาสตร์ ให้ความสำคัญกับการพัฒนานักศึกษา มีการสนับสนุนงบประมาณกิจกรรมพัฒนานักศึกษาทั้งในและนอกหลักสูตร
  • คณะพยาบาลศาสตร์ โดยคณะกรรมการประจำคณะและคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ร่วมกันการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี โดยจัดกิจกรรมแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน
  • ให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพ
  • การประเมินผลกิจกรรมทุกกิจกรรม เป็นการประเมินตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผน หรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 1

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. คณะพยาบาลศาสตร์ได้รับการรับรองคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Register; TQR) ตามระยะที่คณะพยาบาลศาสตร์ได้รับการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์จากสภาการพยาบาลเป็นระยะเวลา 5 ปีการศึกษา (2566-2570) แสดงว่าคณะพยาบาลศาสตร์มีคุณภาพของการจัดการการศึกษาโดยรวมอยู่ในกลุ่มที่ดีมาก รวมถึงคณะพยาบาลศาสตร์ยังได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 1 ของสถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน 3 ปีซ้อน (พ.ศ. 2562-2564)
  2. คณะฯ มีระบบการดูแลนักศึกษา โดยมีระบบอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ทั้งทางด้านวิชาการ ด้านการใช้ชีวิต ด้านการปรับตัว ด้านพฤติกรรม และอื่น ๆ ภายใต้การกำกับดูแลของรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ตลอดจนมีกิจกรรมนักศึกษาที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาคุณลักษณะของนักศึกษาทั้งคุณลักษณะทั่วไปและคุณลักษณะทางวิชาชีพ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. เพิ่มจำนวนอาจารย์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของสภาการพยาบาล (1:6.00-6.99 FTES)
  2. พัฒนาอาจารย์เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย

[ตัวบ่งชี้ 2.1] ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

[ตัวบ่งชี้ 2.2] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมินของกรรมการ
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายใน 1,568,810.75 4.68
[2] เงินสนับสนุนงานวิจัย/งานสร้างสรรค์จากภายนอก 890,657.95
[3] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ทั้งภายในและภายนอก [1] + [2] 2,459,468.70
[4] จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมอาจารย์ที่ลาศึกษาต่อ] 52.50
[5] จำนวนนักวิจัยประจำที่ปฏิบัติงานจริง [ไม่นับรวมนักวิจัยที่ลาศึกษาต่อ] 0.00
[6] เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์จากภายในและภายนอกสถาบันต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัย [3] / ([4] +[5]) 46,847.02
[7] ผลลัพธ์ที่ได้ [6] X 5 / 50000 4.68

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ทุนภายนอก ชื่อทุน "หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) / สสส. (รศ.ดร.วิมลรัตน์ บุญเสถียร 1ปี 6 เดือน)"
จำนวนเต็มคือ 886,126.41 นำมาหาร 18 คูณ 11 เดือน = 541,521.695 ในปีถัดไปทุนนี้จะคงเหลือยอดที่ใช้ได้ 344,604.715
เมื่อนำทุนภายนอกมารวมกัน 541,521.695+240,000+52,361.25+56,775 = 890,657.95

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = 60,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = 50,000 บาทขึ้นไปต่อคน
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = 25,000 บาทขึ้นไปต่อคน

[ตัวบ่งชี้ 2.3] ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

หมายเหตุ เป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในรอบปีที่รับการประเมินเท่านั้น [ช่องไหนไม่มีผลงานให้ใส่ 0 ไม่ปล่อยว่าง]
จำนวนผลงานทางวิชาการตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 14 11 1
จำนวนผลงานสร้างสรรค์ตามค่าถ่วงน้ำหนัก
ค่าถ่วงน้ำหนัก 0.20 0.40 0.60 0.80 1.00
จำนวนผลงาน (ชิ้น) 0 0 0 0 0
ข้อมูลพื้นฐาน ผลการประเมิน
จำนวนยืนยัน กรรมการ
[1] ผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ 18.20 5.00
[2] จำนวนอาจารย์ประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 57.50
[3] จำนวนนักวิจัยประจำคณะทั้งหมด [นับทั้งที่ปฏิบัติงานจริง และลาศึกษาต่อ] 0.00
[4] ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักที่ได้ [1] X 100 / [2] + [3] 31.65
[5] ผลลัพธ์ที่ได้ [4] X 5 / 30 5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

-

หมายเหตุ : เกณฑ์การประเมิน ตามกลุ่มสาขาวิชา

  1. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  2. กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
  3. กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 2

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีผลงานวิจัยจำนวนมาก
  2. มีทุนวิจัยจำนวนมาก

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ส่งเสริมให้มีการเผยแพร่ผลลงานวิจัยในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ

[ตัวบ่งชี้ 3.1] การบริการวิชาการแก่สังคม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 2 ในส่วนของแผนการใช้ประโยชน์ ทางคณะควรเพิ่มเติมในประเด็นนี้เข้าไปในส่วนของคณะด้วย แต่เบื้องต้นมีการแจ้งเกี่ยวกับแผนการใช้ประโยชน์ไปยังศูนย์บริการทางวิชาการแล้วและบรรจุโครงการในแผนการใช้ประโยชน์ของสถาบันแล้ว

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 3

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการดำเนินการด้านบริการวิชาการทั้งแบบให้เปล่าและแบบมีรายได้
  2. คณะมีการประเมินความสำเร็จในแต่ละโครงการและมีการวางแผนปรับปรุงการให้บริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. จัดทำแผนบริการวิชาการและแผนการใช้ประโยชน์ แยกออกมาเป็นเอกสารใหม่

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

[ตัวบ่งชี้ 4.1] ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 - 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

- คณะพยาบาลศาสตร์ ได้กำหนดนโยบายด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัย พ.ศ.2565-2569 มาเป็นแนวทางในการจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะ โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบหลักในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คือ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา

- จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนการเงินตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัยที่กำหนดเป้าประสงค์ ให้ปลูกฝังจิตสำนึกการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาและบุคลากร

- มีการกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรมต่างๆ อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ของแผนทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในแผนปฏิบัติการประจำปี (Action plan) ซึ่งแต่ละโครงการ/กิจกรรม มีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ เพื่อให้แต่ละกิจกรรมและโครงการได้ดำเนินการตามแผนอย่างครบถ้วนและเหมาะสม

- รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ เป็นผุู้กำกับและติดตามการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการประจำปี

- ได้มีการกำกับและติดตามการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้
  • วัฒนธรรมวิชาชีพการพยาบาล
  • วัฒนธรรมของชาติไทย
  • การเรียนรู้แลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรม
- มีการนำผลการประเมินโครงการและกิจกรรมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในปีการศึกษาที่ผ่านมา มาปรับปรุงแผนและการจัดกิจกรรมในปีถัดมา

- คณะพยาบาลศาสตร์มีการเผยแพร่กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะฯต่อสาธารณชนผ่านทางเว็บไซต์มหาวิทยาลัยรังสิต เว็บไซต์คณะพยาบาลศาสตร์ Facebook ของคณะ และ ผ่านทาง RSU Media และ Wisdom Media

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 4

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. เนื่องด้วยวิชาชีพพยาบาลเข้มแข็ง และมีเอกลักษณ์ นักศึกษาภาคภูมิใจที่ได้เรียนในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต การได้เข้าร่วมพิธีมอบหมวก มอบแถบหมวกทำให้นักศึกษาเกิดความซาบซึ้ง ยินดีและศรัทธาในวิชาชีพพยาบาลอย่างยิ่ง

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. ให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเพิ่มพูนสมรรถนะด้านภาษาและวัฒนธรรมต่างชาติ พัฒนาทักษะในการใช้ภาษาอื่นๆ ให้สามารถสื่อสารได้ดี เพื่ออนาคตนักศึกษาจะสามารถทำงานในโรงพยาบาลที่ดูแลชาวต่างชาติ
  2. ควรมีการบูรณาการพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการจัดการเรียนการสอนในหลักสุตรต่าง ๆ ของคณะ เพื่อเป็นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดบริการสุขภาพของประเทศ และส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในฐานะที่เป็นปัจจัยกำหนดสุขภาพ

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

[ตัวบ่งชี้ 5.1] การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00
การจัดการความรู้ในแต่ละด้าน จำนวน
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการผลิตบัณฑิต [ยุทธ์ ฯ 1] 1
เรื่อง
  • สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษานำความรู้สู่การปฏิบัติได้
การจัดการความรู้เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีด้านการวิจัย [ยุทธ์ ฯ 2] 1
เรื่อง
  • เทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน: การนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพ
การจัดการความรู้ ด้าน Smart Organization [ยุทธ์ ฯ 3] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Internationalization [ยุทธ์ ฯ 4] 0
การจัดการความรู้ ด้าน Reputation [ยุทธ์ ฯ 5]
(รวมด้านบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม)
0
การจัดการความรู้ ด้านอื่น ๆ 0

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1
-มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของคณะ และแผนทางการเงินโดยความร่วมมือของทั้งคณะกรรมการประจำคณะ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา และถ่ายทอดสู่แผนปฏิบัติการประจำปี ตลอดจนแผนรายพันธกิจที่มีการกำหนดตัวชี้วัดระดับแผนที่ชัดเจน 

-เสนอแนะให้มีการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ ต่าง ๆ ในลักษณะของ strategic map เพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงสอดคล้องของประเด็นยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ของคณะ อันจะเป็นประโยชน์ในการวางแผน 

ข้อ 2
-ดำเนินการจัดการเรียนการสอน 3 หลักสุตร (ปริญญาตรี 2 หลักสูตร - รับรองผ่านสภาการพยาบาล และปริญญาโท 1 หลักสูตร) มีค่าร้อยละรายได้สูงกว่ารายจ่ายต่อหัว และเมื่อคณะพบว่า หลักสูตร พยบ.(หลักสูตรสองภาษา) ไม่มีความคุ้นทุนในการจัดการศึกษา คณะได้ดำเนินการปิด และปรับปรุงสู่หลักสูตรใหม่ (พยบ.2.5 ปี) สะท้อนให้เห็นการนำข้อมูลทางการเงิน มาปรับใช้ในการบริหารจัดการ และหากโอกาสในการสร้างความสามารถในการแข่งขันใหม่ของคณะ ที่ผ่านการทบทวนสถานการณ์ และการเปลี่ยนแปลงของความต้องการในตลาดแรงงานในระบบบริการสุขภาพ
-มีการใช้จ่ายงบประมาณในการพัฒนาอย่างคุ้มค่า (ข้อสังเกต คือ โครงการพัฒนาการเรียนการสอน มีการใช้จ่ายเพียง 25.88% อาจจะต้องเร่งรัดการใช้งบประมาณดังกล่าวให้เกิด cost-benefit สูงสุด)

ข้อ 3
-มีการจัดการความเสี่ยงที่ชัดเจน วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของคณะ

ข้อ 4
-มีการบริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาลครับทุกประเด็น และรายงานได้อย่างชัดเจน

ข้อ 5
-มี KM ตามยุทธฯ 1 คือ สอนอย่างไรจึงจะทำให้นักศึกษานำความรู้สู่การปฏิบัติได้
-มี KM ตามยุทธฯ 2 คือ เทคโนโลยีสุขภาพสู่ชุมชน: การนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลสุขภาพ


ข้อ 6
-เนื่องจาก ตบช.1.2 และ 1.3 เกี่ยวกับอาจารย์ประจำมีสัดส่วนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก และสัดส่วนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (40% และ 60%) คณะจึงควรมีการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากร ให้เป็นไปตามเกณฑ์ และติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนแนวโน้มการพัฒนาของอาจารย์ในประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
-เนื่องจากค่าเบี่ยงเบนอัตราส่วนของอาจารย์ประจำเต็มเวลา เทียบกับนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า เกินกว่าเกณฑ์  6.99:1 เป็น 7.39:1 และเบี่ยงเบน 5.72% อาจจะต้องมีการกำกับติดตามแผนกำลังคนของคณะ ให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการในการศึกษาต่อของ นศ ทั้งระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
-จากการรายงานมีอาจารย์ที่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อระดับปริญญาเอก 4 ท่าน และมีอาจารย์ -> ผศ 2 ท่าน + 4 ท่าน
-สภาการพยาบาลมีแนวปฏิบัติ/เกณฑ์ที่กำหนดให้คณาจารย์ในคณะพยาบาลศาสตร์ของสถาบันต่าง ๆ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้ดำเนินการเป็นไปตามเกณฑ์ สนับสนุนต่อการพัฒนาความรุ้ความสามารถของคณาจารย์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อบริบทของการจัดการสุขภาพ/ระบบบริการสุขภาพ

ข้อ 7
-

[ตัวบ่งชี้ 5.2] ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
การดำเนินงาน [ข้อ] ผลการประเมินของกรรมการ
5.00

ข้อคิดเห็นเบื้องต้น

ข้อ 1 
-มีการรายงานที่ชัดเจน และเชื่อมโยงการทำงานของคณะกรรมการระดับคณะ และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ รวมทั้งคณะกรรมการระดับหลักสูตรในการดำเนินการตามระบบการกำกับการดำเนินงานประกันคุณภาพหลักสูตร 
-เมื่อมีปัญหาในการบริหารจัดการหลักสูตร ที่ประชุมของแต่ละสาขา/กลุ่มวิชา เพื่อดำเนินการแก้ไขเบื้องต้น หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาในระดับสาขา/กลุ่มวิชาได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/หัวหน้ากลุ่มวิชา นำเสนอปัญหาต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อพิจารณาแก้ไขเป็นลำดับถัดไป = การดำเนินการที่เป็นระบบ มีการกระจายอำนาจ มอบอำนาจ และสอดคล้องกับการดำเนินการเฉพาะของแต่ละหลักสูตร
ข้อ 2 -
ข้อ 3 -
ข้อ 4 -
ข้อ 5 -
ข้อ 6 -

ผลการประเมินเชิงคุณภาพขององค์ประกอบที่ 5

จุดแข็งและแนวทางเสริมจุดแข็ง

  1. มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของคณะ และแผนทางการเงินโดยความร่วมมือของทั้งคณะกรรมการประจำคณะ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา และถ่ายทอดสู่แผนปฏิบัติการประจำปี ตลอดจนแผนรายพันธกิจที่มีการกำหนดตัวชี้วัดระดับแผนที่ชัดเจน
  2. มีการใช้จ่ายงบประมาณในการพัฒนาอย่างคุ้มค่า เห็นได้จากการดำเนินงานของหลักสูตรต่าง ๆ ที่เป็นไปอย่างมีคุณภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ
  3. มีการพัฒนาความรู้ความสามารถของคณาจารย์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงต่อบริบทของการจัดการสุขภาพ/ระบบบริการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการสนับสนุนให้คณาจารย์ศึกษาต่อ / เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยกระบวนการที่เป็นรูปธรรม และเกิดผลชัดเจน
  4. มีการกำกับติดตามการดำเนินงานของแต่ละหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีคณะกรรมการดำเนินการตามระบบที่กำหนดขึ้น และมีการรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการให้กับคณะกรรมการแต่ละระดับทราบ และให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาคุณภาพ

จุดที่ควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

  1. เนื่องจาก ตบช.1.2 และ 1.3 เกี่ยวกับอาจารย์ประจำมีสัดส่วนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก และสัดส่วนอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (40% และ 60%) คณะจึงควรมีการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากร ให้เป็นไปตามเกณฑ์ และติดตามความก้าวหน้า ตลอดจนแนวโน้มการพัฒนาของอาจารย์ในประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
  2. นำแนวคิดทางการการบริหารจัดการมาเป็นเครื่องมือในการจัดการระดับคณะ อาทิ Strategic map , BSC, OKR, MBNQA เพื่อยกระดับการบริหารจัดการให้มีคุณภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

สรุปผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้

ตัวบ่งชี้คุณภาพ ผลดำเนินการ
กรรมการ
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม 4.13
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก 3.70
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ 2.75
ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ 3.32
ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ 4.68
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ 5.00
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร 5.00
ผลการประเมินเฉลี่ยรวม [13 ตัวบ่งชี้] 4.51

ตารางผลการวิเคราะห์คุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2566

องค์ประกอบคุณภาพ จำนวนตัวบ่งชี้ I P O คะแนนเฉลี่ย ผลการประเมิน
1 6 3.26 5.00 4.13 3.98 การดำเนินงานระดับดี
2 3 4.68 5.00 5.00 4.89 การดำเนินงานระดับดีมาก
3 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
4 1 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
5 2 - 5.00 - 5.00 การดำเนินงานระดับดีมาก
ผลการประเมิน 3.61 5.00 4.57 4.51 การดำเนินงานระดับดีมาก
ระดับคุณภาพ การดำเนินงานระดับดี การดำเนินงานระดับดีมาก การดำเนินงานระดับดีมาก